ขอเป็นตัวแทนการ ส่งมอบความรักที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย สู่วิมาน

ขั้นตอนการจัดงานศพ รายละเอียด ราคาค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ

เมื่อคนที่รักถึงเวลาจากไป การเตรียมตัวในวันนั้นที่มาถึง คงไม่มีใครเตรียมการถูก เพราะอาจเป็นเหตุการณ์ ครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อเวลาลาจากมาถึง ความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นคือ ความกลัว กังวล เสียใจ และไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป

เมื่อคนที่รักถึงเวลาจากไป การเตรียมตัวในวันนั้นที่มาถึง คงไม่มีใครเตรียมการถูก เพราะอาจเป็นเหตุการณ์ ครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อเวลาลาจากมาถึง ความรู็สึกที่อาจเกิดขึ้นคือ ความกลัว กังวล เสียใจ และไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป ทางทีมงาน Farewellmylove ขอแนะนำการเตรียมงานศพ หรือ ขั้นตอนจัดงานศพ อย่างละเอียดดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องเตรียมใจและทำ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ มี เกิด แก่ เจ็บ และตาย ไม่มีใครสักคนหนีพ้น ดังนั้นการจากลาคือเรื่องธรรมชาติ และสำหรับบางท่านอาจต้องใช้เวลาทำการทำใจ

ส่วนในด้านงานพิธีนั้น รายละเอียดพิธีงานศพ ตามพีธีทางศาสนาพุธ มีดังนี้นะคะ

1. ดำเนินการแจ้งตายและขอใบมรณะบัตร

เมื่อมีผู้สิ้นลมหายใจ อันดับแรกที่ผู้เป็นญาติต้องทำ คือ การแจ้งตาย โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 
เสียชีวิตที่โรงพยาบาล และ เสียชีวิตที่บ้าน

เมื่อเสียชีวิตที่โรงพยาบาล : ทางโรงพยาบาลจะทำการออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต เพื่อให้เราได้นำไปรวมกับเอกสารอื่น ๆ ของผู้ตาย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อนำไปยื่นให้กับสำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือที่ทำการเขต ให้ทำการออกใบมรณะบัตร ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเสียชีวิต หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.4/1 ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนตายเข้ารับการรักษาก่อนตาย หรือผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่สามารถบ่งบอกตัวบุคคลของคนตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเสียชีวิตที่บ้าน : ผู้เป็นญาติต้องเดินทางไปแจ้งการตายที่สถานีตำรวจ ในเขตพื้นที่ของผู้เสียชีวิต เพื่อให้ ออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต หลังจากนั้นนำไปยื่นเพื่อขอใบมรณะบัตรต่อที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือที่ทำการเขต เอกสารที่ต้องใช้ขั้นตอนการแจ้งตาย ให้ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) ในส่วนนี้ญาติต้องเป็นผู้ทำ

…เมื่อยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะทำการจำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า “ตาย” เป็นสีแดงไว้หน้ารายการคนตายของทะเบียนบ้าน ก่อนที่จะออกใบมรณบัตรให้ จากนั้นนายทะเบียนจะคืนใบมรณบัตร เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนคืนให้แก่ผู้แจ้งตาย เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการแจ้งตาย…

2. ทำการติดต่อวัด เพื่อนำศพมาบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อทางศาสนา

เมื่อได้ใบมรณะบัตรเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การติดต่อวัดที่ต้องการนำร่างผู้เสียชีวิตไปตั้งบำเพ็ญกุศลศพ และเมื่อได้วัดที่ต้องการแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องนำขนร่างมาที่วัด โดยอาจจะติดต่อวัด หรือโรงพยาบาลให้จัดหารถให้สิ่งสำคัญในการเคลื่อนขบวนศพนั้นควรมีญาติหรือลูกหลานของผู้เสียชีวิต ถือกระถางธูป ปักธูป 1 ดอกและรูปของผู้ตายนำหน้า ส่วนด้านหลังก็ควรนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 1 รูป ถือสายสิญจน์ที่โยงออกมาหน้าโลง เพื่อซักศพและนำทางดวงวิญญาณมาที่วัดในขั้นตอนนี้ ญาติต้องติดต่อร้านโรงศพ

ซึ่งโดยปรกติ ร้านที่ขายหีบศพจะมีบริการ ขนย้านศพไปสถานที่ทำพิธีทางศาสนา ทั้งนี้ ราคาหีบศพ 

มีตั้งแต่ 5000-300,000 บาท แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราคากลาง หน้าตาของหีบจะขายที่ 14000-ความแตกต่างจะอยู่ที่ ขนาดความกว้างหากกว้าง 20 นิ้ว ไม่มีลวดลายราคาประมาณ 5000 บาทด้านในบุผ้าเพิ่ม 500 บาท หีบที่ราคาสูงก็จะมีฐานตั้ง 1-5 ชั้น แล้วแต่ความสวยงาม พิธีการ การย้ายศพ หรือย้ายร่างผู้วายชนต์ 

( ในส่วนนี้ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ฝรั่ง วัดคลองเตยใน) มีเครื่องนำวิญญาณ คือ จุดธูป 1 ดอก แจ้งวิญญาณให้ทราบว่า ชื่อผู้ตายได้เสียชีวิตแล้วและญาติกำลังนำร่างผู้เสียชีวิตออกจากสถานที่นั้นๆ จุดธูป 5 บอกบอกเจ้าที่ เอ่ยชื่อ นามสกุล แจ้งเจ้าที่ขออนุญาตินำวิญาณออกจากสถานที่ เราแนะนำให้ญาติเปลี่ยนชุดและแต่งหน้าศพ หากไม่สะดวกสามารถเตรียมชุดและให้สัปะเหร่อทำให้ที่วัดได้ และอาจให้ค่าจัดเตรียมศพแก่สัปะเหร่อ

ข้อแนะนำในการจองศาลาจัดงานศพ

  1. เดินทางสะดวก หรืออยู่ในเขตพื้นที่ ในส่วนนี้ควรวางแผน่วงหน้าว่าต้องการสถานที่ไกล้ไกล สำหรับญาติและแขก
  2. ต้องคำนึงถึงค่าศาลาสวดอภิธรรมด้วยเนื่องจากบางวัดมีราคาสูง ทั้งนี้ต้องติดต่อสอบถามแต่ละวัดก่อน
  3. ศาลาว่างหรือไม่ หากศาลาไม่ว่าง อาจจะต้องมีการแช่ร่างผู้วายชนต์ในห้องเย็น ราคาประมาณ 500-1200 บาทต่อคืน

ขออนุญาติขั้นด้วยราคาค่าจัดงานศพนะคะ

ค่าเช่าศาลา 3 คืน / คืนละ 5000 บาท1,5000
ค่าโรงเย็น 3 วัน / คืนละ 700 บาท2,100
ค่าไฟน้ำ ศาลา1,200
ค่าทำความสะอาด 8002,400
ค่าคนดูแลศาลา 2 คน / คนละ 500 / 3 วัน3,000
ค่าปัจจัยถวายพระ 4 รูป ต่อวัน 1000 ต่อวัน x 3 วัน3,000
ค่าเผา4,500
ค่าคนช่วยเผา 2 คน1,000
สินน้ำใจคนแห่ศพ 3 รอบ 5 คน1,500
ซองทำบุญเลี้ยงพระ 10 รูป2,000
ค่าน้ำขวดตลอดงาน 200 ขวด2,000
ค่าผ้าไตร 1 ชุด1,200
ค่าหีบศพ7,500
ค่าดอกไม้ ในส่วนนี้หากต้องการดอกไม้มาก อาจราคาเพิ่มถึง 50,000 –7,000
ค่าอาหารแขก 3 คืน10,000
63,400

3. พิธีรดน้ำศพ และจัดร่างที่ไร้วิญญาณใสโลงศพ

เมื่อเคลื่อนร่างที่ไร้วิญญาณมาถึงวัดแล้ว  หากร่างมาจากโรงพยาบาลจะมีการฉีดน้ำยาอาบศพมาแล้ว หากเสียที่บ้านต้องมาฉีดน้ำยาที่วัด ค่าบริการอยู่ประมาณ 1500 บาท หรือแล้วแต่วัด ขั้นตอนต่อมา คือ การรดน้ำศพ โดยควรจะตั้งเตียงรดน้ำศพไว้ทางด้านซ้ายมือของโต๊ะหมู่บูชาพระ รัตนตรัย และจัดให้โต๊ะหมู่บูชาอยู่ด้านบนของศีรษะผู้เสียชีวิต จัดร่างที่ไร้วิญญาณให้นอนหงาย โดยนำผ้าห่มหรือผ้าแพรคลุมไปทั่วร่างยกเว้นบริเวณใบหน้าและมือขวา เพื่อรับการรดน้ำศพจากญาติ ๆ และผู้ ที่มาร่วมแสดงความอาลัย โดยเราในฐานะที่เป็นเจ้าภาพ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำอบ น้ำหอม ขันขนาดเล็กสำหรับตักไปรดน้ำศพ และขันขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำที่รดมือศพ

ในส่วนของงานพิธีการ คือ พิธีลงโลง ซึ่งจะต้องมี เครื่องไหว้ และค่าพิธีการ สอบถามแต่ละสัปะเหร่อจะอยู่ที่ 800-1000 บาท

ซึ่งจะมี หมาก พลู ยาเส้น บุหรี่ ชุดนึงหากไปซื้อที่ปากคลองตลาดจะอยู่ที่ 200 บาทหากซื้อที่วัดราคา 300-400 บาท โดยความเชื่อที่มีมานาน เจ้าภาพควรจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตตรัยก่อน แล้วจึงรดน้ำศพได้ และเวลาที่เหมาะสมสำหรับพิธีนี้คือช่วง 16.00 – 17.00 น. หลังจากนั้นก็สามารถจัดร่างในโลงศพพร้อมทำพิธีต่อไปได้เลย โดยส่วนมากจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของวัด ในกรณีที่ไม่ได้จัดงานที่วัด การรดน้ำศพสามารถทำเวลาช่วงสายได้ตามสะดวกของเจ้าภาพจัดงาน เช่นบางกรณีจัดสถานที่อื่น ที่ไม่ได้ทำที่วัด ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายทั่วไปของทางวัดตลอดพิธี

  • เจ้าหน้าที่ประจำศาลา 2 คน
  • รูปดอกเล็ก, ธูปดอกใหญ่, เทียนกล่อง
  • บำรุงค่าศาลา
  • บำรุงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าของเครื่องใช้
  • บำรุงค่าเครื่องขยายเสียง
  • สินน้ำใจเจ้าหน้าที่อื่นๆ นอกเหนือจากรายการของทางวัด

4. พิธีสวดอภิธรรมศพ

ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวดหน้าศพ เจ้าภาพสามารถตกลงกับทางวัดได้เลยว่าต้องการที่จะสวดอภิธรรมศพกี่วัน ซึ่งการสวดที่ว่านี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ โดยส่วนใหญ่เจ้าภาพมักนิยมสวดกัน 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน, 7 คืน เป็นต้น จำนวนวันเพื่อจัดงานศพ สวดอภิธรรม…หากอ้างอิงถึงธรรมเนียมปฎิบัติ จะนิยมจัดเป็นเลขคี่ เช่น 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน และ 7 คืน (ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมจัดงานศพ สวดอภิธรรม 3 คืน) 
ในกรณีที่สวดอภิธรรม 1 คืน ต้องใช้ศาลา 2 วันในการทำพิธีทางศาสนา

เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ค่าใช้จ่าย

ในจัดงานศพ แต่ละครั้ง หลายคนมีข้อสงสัยว่ามีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไหร่ จะต้องเตรียมงบประมาณ เจ้าภาพแบ่งออกเป็น 2 ความหมายนะคะ ซึ่งหารเป็นงานแบบครอบครัวทำกันเอง

เจ้าภาพจัดงานศพ และ จ้าภาพสวดพระอภิธรรม ก็จะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท

เจ้าภาพจัดงานศพ “ ก็คือเจ้าของงานในการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะเป็นบุตร-ธิดา หรือบุคคลใกล้ชิดที่สุด หรือ ง่ายๆ ก็ คือ ผู้ที่รับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานในครั้งนี้

เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม “ ในการจัดงานศพ จะมีการตั้งศพเพื่อบำเพ็ญกุศล และมีการสวดอภิธรรมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา…ซึ่งในแต่ละคืนของการประกอบพิธีกรรม จะมีเจ้าภาพอย่างน้อย 1 คณะ ซึ่งมีวิธีการสังเกตุง่ายๆ ก็คือ จะมีการขึ้นกระดานระบุชื่อไว้ที่หน้าศาลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ว่าใครจะเป็นเจ้าภาพในการสวดพระอภิธรรม…ซึ่งการเป็น “เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ค่าใช้จ่าย” ขึ้นอยู่กับทางคณะเจ้าภาพในคืนนั้นๆ ว่า…ต้องการร่วมทำบุญกับเจ้าภาพจัดงานเท่าไหร่ หรือ อาจจะจัดเป็นซองถวายพระที่มาทำพิธีสวดพระอภิธรรมในคืนนั้นๆ ก็ได้ ส่วนจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ใช้ ญาติผู้ตายสามารถพูดคุยกับทางวัดว่าค่าใช้จ่ายต่อการใช้ศาลาอยู่ที่เท่าไหร่ต่อ 1 คืน เจ้าภาพจัดงานศพ สวดพระอภิธรรม 3 คืน จะอยู่ที่การติดต่อกับทางวัดนั้น โดยทั่วไปอยู่ที่คืนละ 2000 -10,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานที่ว่ามีแอร์ หรือข้อกำหนดแต่ละวัด หรือสถานที่นั้นๆ ใช้จ่ายเพิ่มเติม อาจเป็นค่าดอกไม้หน้าศพ ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม

5. พิธีฌาปนกิจศพ

หลังจากสวดพระะอภิธรรมครบตามกำหนดตามความตั้งใจของเจ้าภาพจัดงานศพแล้ว วันถัดไปก็จะมีการประกอบพิธีฌาปนกิจ ซึ่งกำหนดการงานฌาปนกิจ จะมีการแจ้งว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และ เมื่อไหร่ ซึ่งจะมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้ ซึ่งจะมีรายละอียดระบุวัน………เดือน……..ปี และสถานที่

กำหนดการงานฌาปนกิจ

กิจกรรม / ระบุเวลา

ถวายภัตตาหาร (ระบุภัตตาหารเช้า หรือ ภัตตาหารเพล) เวลา……………………..
พระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุล  เวลา……………………..                                   
พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา  เวลา……………………..                           
เคลื่อนย้ายร่างผู้วายชนต์สู่เมรุ (เวียนรอบเมรุ ) เวลา……………………..
พิธีทอดผ้าบังสุกุล เวลา……………………..
พิธีฌาปนกิจ หรือ พิธีพระราชทานเพลิงศพ เวลา……………………..

ค่าใช้จ่ายในการฌาปนกิจ หรือค่าใช้จ่ายในเผาศพ 

มีดังนี้

  • การถวายภัตตาหาร ทำหรับพระสงฆ์ 10 รูป โดยปรกติราคาเฉลี่ยที่ 3000-8000 บาท แล้วแต่แม่ครัวของแต่ละวัด หากใช้ catering จะมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำซึ่งส่วนใหญ่มีขั้นต่ำที่ 10000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายคนดูแลเผา 2 ท่าน ท่านละ 500 บาท
  • การเตรียมผ้าไตร ผืนละ 300 บาท

เมื่อสวดอภิธรรมศพครบจำนวนวันที่กำหนดกับทางวัดแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องฌาปนกิจศพ หรือ “ “พีธีเผาศพ “นั่นเอง แต่การที่จะเคลื่อนย้ายศพออก ทางเจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูปในการนำขบวนแห่ศพเวียนรอบเมรุ จากนั้นทางญาติสนิทจะถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปหน้าศพ แล้วตามด้วยคนที่ถือรูปถ่ายหน้างานศพส่วน ลำดับต่อๆไปในกระบวนเวียนรอบเมรุก็จะมีลูกหลานเครือญาติของผู้ล่วงลับโดยการแห่ศพเวียนเมน 3 รอบ ซึ่ง เวียนรอบที่ 1 หมายถึงอนิจจังคือความไม่เที่ยง เมื่อมีอยู่แล้ววันหนึ่งก็ต้องจากไปเวียนรอบที่ 2 หมายถึงทุกครั้ง คืออาการที่เป็นทุกข์ จากปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีแล้วไม่มีจึงเกิดความทุกข์ เวียนรอบที่ 3 หมายถึงอนัตตา คือสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน  ดังนั้นการเวียน 3 รอบเป็นการ ระลึกถึง กฎไตรลักษณ์ซึ่งเป็นธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตรัสว่า การเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดาดังนั้นคนที่อยู่จะต้องเข้มแข็งหมั่นทำความดีทำกุศล เมื่อล่วงลับไปแล้ว จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี หลังจากการแห่เวียน 3 รอบเรียบร้อย ทางพิธีกรจะกล่าวถึงชีวประวัติ คุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับรวมถึงประวัติส่วนตัว หรือต้องการที่จะบอกอะไรกับผู้ตายสามารถใช้เวลาในส่วนนี้ได้เลย

“ คำอำลาช่วงสุดท้าย”

ให้แขกที่มาในงานได้ระลึกนึกถึงผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย แต่บางสถานที่ จะกล่าวบทรำรึกก่อนพิธีแห่ศพ
จากนั้นจะมีการทอดผ้าบังสกุลทางเจ้าภาพจะเชิญแขกร่วมงานไว้อาลัยนำดอกไม้ธูปเทียนวางไว้เชิงตะกอนหรือ วางหน้าผ่านศพซึ่งแขกที่มาในงานจะมีการขอขมาไหว้ทำความเคารพก่อนที่จะวางดอกไม้จันทน์เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิต 
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่วัดจะทำการฌาปนกิจผู้ที่ล่วงลับไปแล้วตามประเพณี หลังจากเสร็จพิธีฌาปนกิจ (เผาศพ) เรียบร้อยสามารถเก็บอัฐิโดยทางเจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณาบังสกุลอัฐิ แต่ละวัดจะมีเวลาในการเผา หลังจากเผาเสร็จ ทางเจ้าภาพจะเก็บอัฐิ ใส่โกศเพื่อไปทำพิธีลอยอังคารต่อไป  ส่วนในงานฌาปนกิจศพจะมีการแจกของที่ระลึกงานศพให้กับแขกที่มาในงานโดยของชำร่วย สำหรับการไว้อาลัยแด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในบางกรณีเพื่อเป็นการไม่สิ้นเปลืองแต่ยังระลึกถึงก็ไม่จำเป็นต้องมีของที่ระลึกใด เพียงแค่งานอำลาก็เพียงพอแล้ว ราคาทั้งหมด ประมาณไว้ที่ 30000- 50000 สำหรับ 3 คืนสวดสวดอภิธรรม  ราคาที่เพิ่มเติมมาจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น

  • ดอกไม้ประดับหน้าหีบ จะมีตั้งแต่หลัก พันไปจนถึง หลักแสน
  • งานผ้าสร้างอุโมงค์ผ้าเพิ่มความสวยงาม บางงานจะเน้นใช้ผ้าและประดับดอกไม้ไม่มากเพราะดอกไม้ใช้แล้วต้องทิ้ง ส่วนงานผ้าสามาถทำให้งานดูสดชื่นได้เช่นกันและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • จำนวนคืนในการสดอภิธรรม จำนวนคืนมากค่าใช้จ่ายมาก
  • จำนวนแขกที่มา หากมากขึ้นและต้องการอาหารว่าง ก็จะมีค่าอาการว่างส่วนนี้เพิ่มขึ้นมา
  • วัดเลือกใช้ ซึ่งต้องโทรสอบถามเป็นวัดๆไปนะคะ

หากทั้งหมดนี่ดูยุ่งยาก ทางทีมงาน รับจัดงานศพ Farewellmyloves ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริการจัดดอกไม้งานศพครบวงจร ดอกไม้หน้าหีบศพ ดอกไม้หน้าเมรุ มากกว่าดอกไม้คือการบริการ เรายึดมั่นในงานบริการ ใส่ใจในทุกรายละเอียด

การบริจาคโลงศพ และอานิสงค์หรือผลบุญในการทำทานนี้

โลงศพก็เปรียบเสมือนบ้าน ที่อยู่อาศัยสำหรับร่างของคนตาย เหมือนกับคนเป็น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีบ้าน เป็นที่พิงพักอาศัย  ส่วนสำหรับคนตาย

พินัยกรรมสำคัญไฉน

เจตจำนงสุดท้ายของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ งานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท

ทำไมต้องใช้บทพระอภิธรรมหน้าศพ

ในครั้งหนึ่งในชีวิตเราต้องเคยได้ยินบทสวดอภิธรรมไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่งเราเคยสงสัยความหมายของบทสวดบ้างหรือไม่ หรือสงวัยว่าทำไมต้องสวดอภิธรรมในงานศพ…