ขอเป็นตัวแทนการ ส่งมอบความรักที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย สู่วิมาน

ทำไมต้องใช้บทพระอภิธรรมหน้าศพ

ในครั้งหนึ่งในชีวิตเราต้องเคยได้ยินบทสวดอภิธรรมไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่งเราเคยสงสัยความหมายของบทสวดบ้างหรือไม่ หรือสงวัยว่าทำไมต้องสวดอภิธรรมในงานศพ…

พระอภิธรรม คืออะไร?

พระอภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ

พระอภิะรรม 7 คัมภีร์มาสวดในงานบำเพ็ญกุศลศพให้แก่ผู้วายชนม์

ครั้งหนึ่งในชีวิตเราต้องเคยได้ยินบทสวดอภิธรรม ไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่ง และเราอาจเคยสงสัยความหมายของบทสวดอภิธรรมบ้างหรือไม่ หรือสงวัยว่าทำไมต้องสวดอภิธรรมในงานศพ….….

พิธีสวดอภิธรรมศพที่สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยอยุธยา นั้น เชื่อว่าการบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสังขารที่ร่วงโรยไปตามวันเวลา และเป็นการย้ำเตือนผู้เข้าร่วมพิธีสวดให้ตระหนักถึงความเป็นไปของชีวิต

คำว่าอภิธรรมในพิธีสวดนั้น ย่อมหมายถึงธรรมะที่เป็นคำสอนสูงสุดอันลึกซึ้งที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาไว้  เกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวัฏจักรของชีวิตที่ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่ายากดีมีจน

ประการแรก พระอภิธรรมนั้น เป็นธรรมล้วนๆ ไม่กล่าวถึงบุคคล

บทสวดอภิธรรมจึงไม่กล่าวถึงตัวบุคคลหรือสิ่งมีชีวิต แต่กล่าวถึงการกระจายสรีระร่างกายออกเป็นขันธ์ 5 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 หรือ อายตนะ 12

กล่าวคือไม่มีตัวตน มีเพียงความว่างเปล่า เมื่อธาตุทั้งหลายที่มารวมตัวกันเป็นชีวิตได้ดับสิ้นไป ก็ไร้ซึ่งความห่วงหาอาทร ไม่มีความรู้สึกใดหลงเหลืออยู่

ประการที่สอง มีคตินิยมว่า การสวดพระอภิธรรมเป็นการสนองพระคุณของมารดาบิดา

ตามแบบอย่างที่พระจริยาวัตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงโปรดพุทธมารดา ที่ได้สิ้นพระชนม์แล้ว ต่อมา แม้ผู้วายชนม์นั้นๆ จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่ก็ถือเป็นประเพณีที่ผู้บำเพ็ญกุศลจะได้อุทิศไปให้ผู้วายชนม์นั้น และสืบถอดมาเป็นประเพณีตั้งแต่สมัยอยุธยา

ประการที่สาม การที่นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับกุศลพิธี

เนื่องในงานศพดังกล่าว จะเป็นวิธีหนึ่งของการป้องกันมิให้พระสัทธรรม คือพระอภิธรรมอันตรธานหายไป

ประเพณีการสวดพระอภิธรรมหน้าศพ นั้นเกิดขึ้นมายาวนาน นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใด รู้เพียงว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับแต่ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ ประจำจิตใจชาวไทยมาแต่โบราณกาลตั้งแต่ยุคล้านนา ยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และมาถึงยุครัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบัน

กล่าวถึงพระอภิธรรม ซึ่งมีทั้งหมด ๗ คัมภีร์ เป็น ๑ ในจำนวนพระไตรปิฎก

แต่ถือเป็นปิฎกที่มีจำนวนมากถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ ตั้งแต่ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน รวมเรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง แม่บทมาติกาล้วน ๆ 

สาเหตุที่มีประเพณีการสวดพระอภิธรรมหน้าศพ นั้น ตามวัตถุประสงค์จริง ๆ แล้ว เป็นการสวดให้คนที่มาร่วมงานฟัง เพื่อให้มีสติระลึกถึงอยู่เสมอว่า

ความตายสามารถมาเยือนได้ทุกวินาที ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ควรประมาทในการใช้ชีวิตแต่ควรเร่งประกอบคุณงามความดี ทำบุญทำกุศลให้มาก เพื่อที่จะได้เป็นเสบียงเดินทางไปสู่ภพหน้าที่ ดี ๆ ยิ่งขึ้นและมีบารมีที่จะบรรลุธรรมในอนาคตกาลเบื้องหน้าด้วย

แต่ความเข้าใจของเจ้าภาพมักเป็นการเข้าใจว่าสวดให้ศพฟัง เพื่อจะได้สู่สุคติสัมปรายภพเบื้องหน้า และถือเป็นประเพณีสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

Reference: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=31334

ความหมายของบทสวดอภิธรรม

สำหรับความหมายของแต่ละคัมภีร์ จะสรุปความเป็นคัมภีร์ๆไป ดังนี้  

คัมภีร์ที่ ๑ พระธัมมสังคณี เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมสภาวธรรม จัดเป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด คือ ๑) กุศลธรรม หมายถึงธรรมในฝ่ายดีที่ตัดขาดจากบาปความชั่ว ๒) อกุศลธรรม หมายถึงธรรมที่อยู่ในฝ่ายบาปฝ่ายชั่ว ๓) อัพยากตาธรรม หมายถึงธรรมที่มีสภาพเป็นกลางๆ ยังไม่ตกอยู่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  

จิตของมนุษย์ย่อมสัมผัสอยู่เสมอกับสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้น ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เช่น ความหนาว ความร้อน หิว กระหาย ขณะเมื่อสัมผัสอยู่กับสิ่งใด สิ่งอื่นก็ไม่มีอยู่ในจิต เช่น คิดเรื่องความใคร่ ความโกรธ ความคิดอย่างอื่นก็จะไม่มี แต่เมื่อหยุดคิด อาจเป็นอัพยากตาธรรมอยู่หรือเปลี่ยนเป็นมีเมตตา กรุณา ก็เป็นฝ่ายกุศลธรรมทันที 

เนื้อหาในตอนท้ายของคัมภีร์ แสดงผลของจิตที่สัมผัสกับธรรมอย่างใด ก็จะเป็นอย่างนั้น เช่น สัมผัสกับกุศล ความฟุ้งซ่านย่อมไม่เกิด ความเดือดร้อนย่อมไม่เกิดตามมา เป็นต้น

คัมภีร์ที่ ๒ พระวิภังค์ โดยเนื้อหาเป็นคัมภีร์บรรยายแยกขันธ์ ๕ ออกอย่างละเอียด ในคัมภีร์นี้แยกให้เห็นแต่เฉพาะรูปขันธ์เท่านั้น ความรู้เรื่องขันธ์ ๕ จัดว่าเป็นอุปการะแก่การฝึกกรรมฐาน ฝึกสมาธิอย่างดียิ่ง

เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น เป็นต้น จะปฏิบัติอย่างไร กิเลสจึงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องมีสติกำหนดรู้ รู้ที่ไหน รู้ตรงที่เกิด คือ เมื่อตาเห็นรูป ให้ตั้งสติไว้ที่ตา นึกภาวนาว่า เห็นหนอ ๆ , หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู นึกภาวนาว่า ได้ยินหนอ ๆ , จมูกได้กลิ่น ให้ตั้งสติไว้ที่จมูก นึกภาวนาว่า กลิ่นหนอ ๆ , ลิ้นได้รส ให้ตั้งสติไว้ที่ลิ้น นึกภาวนาว่า รสหนอ ๆ , กายถูกต้องร้อน เย็น อ่อนแข็ง ให้ตั้งสติไว้ตรงที่ถูกต้อง นึกภาวนาว่า ถูกหนอ ๆ , เวลานั่งหลับตาภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็คือการกำหนดขันธ์ ๕ ว่าโดยย่อก็คือการกำหนดรูปนาม นั่นเอง

คัมภีร์ที่ ๓ พระธาตุกถา คัมภีร์นี้ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมต่างๆ โดยมีธรรมตั้งสำหรับเป็นเกณฑ์ ๓ หัวข้อด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นธรรมสำคัญ ได้แก่ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ ในเนื้อหาได้แยกแยะวิธีการสงเคราะห์เป็น ๙ ลักษณะ เพียงแต่แสดงวิธีเท่านั้น มิได้ยกตัวอย่างไว้ ซึ่งมีรายละเอียดที่ผู้ศึกษาต้องเรียนรู้เข้าใจหัวข้อธรรมอย่างกว้างขวางจึงจะเข้าใจชัด เมื่อเข้าใจชัดแล้ว นับว่ามีประโยชน์มาก

ในที่นี้อาตมาขอยกตัวอย่างการสงเคราะห์ตามลักษณะที่ ๔ คือ บทว่า “ สังคะหิเตนะ สังคะ-หิตัง ” ดังนี้ “ สังขารขันธ์สงเคราะห์เข้าในสมุทัยสัจ มัคคสัจได้ สังขารขันธ์สงเคราะห์เข้าในอายตนะได้ เรียกว่า ธัมมายตนะ สังขารขันธ์สงเคราะห์เข้าในธาตุได้ เรียกว่า ธัมมธาตุ ”  

คัมภีร์ที่ ๔ พระปุคคลบัญญัติ คัมภีร์นี้ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง “ การบัญญัติ ” ซึ่งได้กำหนดบัญญัติไว้ ๖ ประการ คือ บัญญัติเรื่องขันธ์ บัญญัติเรื่องอายตนะ บัญญัติเรื่องธาตุ บัญญัติเรื่องสัจจะ บัญญัติเรื่องอินทรีย์ และบัญญัติเรื่องบุคคล บัญญัติแต่ละข้อนั้นได้จำแนกแยกข้อย่อยให้เห็นชัดว่ามีอะไรบ้าง โดยยกปุคคลบัญญัติเป็นตัวอย่างว่า บุคคลนั้นมีบัญญัติเรียกแยกออกได้ถึง ๒๐ ประเภท ตามบทสวดนั้น ซึ่งแม้บัญญัติอื่นก็แยกย่อยออกได้เป็นข้อๆ อีกเช่นกัน

คัมภีร์ที่ ๕ พระกถาวัตถุ เป็นคัมภีร์ที่มีคำอธิบายที่น่าสนใจอยู่มาก คือ ชื่อบทว่า กถาวัตถุ นั้น แปลว่า เรื่องของถ้อยคำ เรื่องของคำพูด ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กำหนด เรื่องถ้อยคำที่ควรพูด ที่พระพุทธองค์แสดงไว้ ๑๐ ประการ คือ  

๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย  

๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยีนดีตามที่ตนหาได้ 

๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกาย สงัดใจ สงัดกิเลส  

๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยคนชั่ว ความชั่ว ใจชั่ว

๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารถนาความเพียร

๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล

๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ฝึกสมาธิ

๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา

๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้พ้นจากกิเลส อยู่เหนืออำนาจกิเลส

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในความที่ใจพ้นจากกิเลส

ความมุ่งหมายทางธรรมของคัมภีร์นี้ เป็นการชี้นำตามแนวทางแห่งพระนิพพานโดยเฉพาะ

คัมภีร์ที่ ๖ พระยมก  ข้อความย่อในคัมภีร์นี้ มีลักษณะเป็นคำถามโดยตลอด แต่การแปลในที่นี้เป็นลักษณะกึ่งคำถามคำตอบ คำว่า “ ยมก ” แปลตามศัพท์ว่า “ คู่ ” คือ ของที่มาเป็นคู่ และยังมีความหมายทางธรรม หมายถึง เป็นเครื่องบรรลุธรรมและเป็นเครื่องก้าวล่วงวิจิกิจฉา ( ความสงสัย-แครงใจ ) ของเวไนยสัตว์ “ ยมก ” แยกเป็นหัวข้อละเอียดได้ถึง ๑๐ ประเภท มี เรื่องกุศลมูล ,ขันธ์ -๕ , อายตนะ ๑๒ , ธาตุ ๑๘ , อริยสัจ ๔ , สังขาร ๓ เป็นต้น

คัมภีร์ที่ ๗ พระมหาปัฏฐาน คัมภีร์นี้ได้แสดงปัจจัย อันเป็นเครื่องสนับสนุนให้เกิดอย่างอื่นไว้ถึง ๒๔ อย่าง มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ตัวอย่างเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดอย่างอื่นได้ คือ เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นปัจจัยแก่รูปนาม เป็นต้น การที่จะรู้ เข้าใจชัดแจ่มแจ้งในมหาปัฏฐานนั้น เป็นสิ่งที่ยาก “ พระมหาปัฏฐานมีนัยที่กว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้ มีอธิบายอันสุขุมลึกล้ำยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง เปรียบดังภูเขาสิเนรุที่สูงกว่าภูเขาทั้งหลาย ดังมหาสมุทรที่ลึกกว่ามหานที เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มิได้เป็นวิสัยของพระสาวก ” การที่ฟังบทย่อพระมหาปัฏฐานนี้ หากผู้ฟังรู้เรื่องและแปลออก ก็จะช่วยให้นำความรู้ ความคิด มาแก้ไขปัญหาชีวิตที่ยังไม่สามารถจะคิดออกและแก้ตกได้ โดยการค้นหาว่า ต้องมีสาเหตุมาจากอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ขอให้ลองพิจารณาดูจะพบด้วยตนเอง

ที่อาตมภาพกล่าวมาทั้งหมดเป็นบทสรุปความหมายของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ในลำดับต่อไปขอเชิญท่านทายก อาราธนาพระธรรม และรับฟังพระอภิธรรมเป็นภาษาบาลี เป็นลำดับต่อไป

บทสวดอภิธรรม แบบเสียงพร้อมคำแปลภาษาไทย
https://www.youtube.com/watch?v=Oy3vAHHbS-M

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริการจัดดอกไม้งานศพครบวงจร ดอกไม้หน้าหีบศพ ดอกไม้หน้าเมรุ มากกว่าดอกไม้คือการบริการ เรายึดมั่นในงานบริการ ใส่ใจในทุกรายละเอียด

การบริจาคโลงศพ และอานิสงค์หรือผลบุญในการทำทานนี้

โลงศพก็เปรียบเสมือนบ้าน ที่อยู่อาศัยสำหรับร่างของคนตาย เหมือนกับคนเป็น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีบ้าน เป็นที่พิงพักอาศัย  ส่วนสำหรับคนตาย

พินัยกรรมสำคัญไฉน

เจตจำนงสุดท้ายของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ งานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท

ทำไมต้องใช้บทพระอภิธรรมหน้าศพ

ในครั้งหนึ่งในชีวิตเราต้องเคยได้ยินบทสวดอภิธรรมไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่งเราเคยสงสัยความหมายของบทสวดบ้างหรือไม่ หรือสงวัยว่าทำไมต้องสวดอภิธรรมในงานศพ…