พินัยกรรม คืออะไร / มีกี่ประเภท
ข้อควรระวังในการเขียนพินัยกรรม
เรื่องเล่าเหตุการณ์จริงจากการไม่เขียนพินัยกรรม
พินัยกรรม คืออะไร
พินัยกรรม เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาแสดงเจตจำนงสุดท้ายของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ งานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท และบุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ของบุคคลนั้นเมื่อบุคคลนั้นตาย ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดให้สิทธิหรือประโยชน์ใดๆ แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย เช่น การยกทรัพย์สินให้ หรือการปลดหนี้ให้ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตามพินัยกรรมนั้นจะเรียกบุคคลนั้นว่า ผู้รับพินัยกรรม
โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีพินัยกรรมทั้งหมด 5 ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทมีวิธีการ แบบ และเงื่อนไขในการทำพินัยกรรมที่แตกกัน ดังต่อไปนี้
แบบของพินัยกรรม มี 5 แบบ คือ
- พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
- พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
- พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา โดยต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ขึ้นเองหรือจะให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ให้ก็ได้ โดยจะต้องลงวันที่ทำพินัยกรรม (มี ต.ย วิธีการเขียน)
ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม และต้องมีพยานรับรองว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจริงอย่างน้อย 2 คน
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
หลักเกณฑ์การทำ
- ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (จะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
- ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อ ในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการ ลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียว
- การขูด ลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะ ที่ขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลง ลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว)ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ไม่มีลายนิ้วมือ) หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องย่อมใช้ไม่ได้
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
การขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้กรมการอำเภอ (นายอำเภอ) อำเภอใดก็ได้ ดำเนินการให้ตามความประสงค์ ดังนี้
คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
- ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้า พยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
- นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำ พินัยกรรมและพยานฟัง
- เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
- ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
- การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรม ไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเองโดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษา พินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอก็ได้
- เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดก หรือผู้ได้รับทรัพย์มรดก โดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรม ไปไว้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้นายอำเภอมอบ พินัยกรรมนั้นให้ไป
อัตราค่าธรรมเนียม
- ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต ฉบับละ 50 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับ ฉบับละ 10 บาท
- ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต ฉบับละ 100 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับ ฉบับละ 20 บาท
- ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท
- ทำหนังสือตัดทายาทหรือถอนการตัดทายาทโดยธรรม มิให้ได้รับมรดก ฉบับละ 20 บาท หรือสละมรดก
- ค่ารับมอบเก็บรักษาเอกสารที่ระบุไว้ใน (4) ฉบับละ 20 บาท
- ค่าคัดและรับรองสำเนาพินัยกรรมหรือเอกสารที่ระบุไว้ใน (4) ฉบับละ 10 บาท
- ค่าป่วยการพยานและล่าม ให้ได้แก่พยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม ซึ่งสมควรได้รับ ค่าป่วยการในการมาอำเภอ ไม่เกินวันละ 50 บาท กลับด้านบน
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เมื่อมีผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ให้ผู้นั้นแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงาน ยื่นต่อกรมการอำเภอ (นายอำเภอ) ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอแล้วปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
- ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คนและ ให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดนั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนเอง โดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
- เมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับ และประทับตราประจำตำแหน่ง แล้วนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
- บุคคลผู้เป็นทั้งใบ้ และหูหนวก หรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ก็ได้ โดยให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอ และพยานอย่างน้อย 2 คน ว่า พินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตน แทนการให้ถ้อยคำ
- ถ้าผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำ พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อรับในสมุดทะเบียน
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา โดยที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และพยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อจดบันทึกข้อความตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นและพยานทั้งสองก็ต้องลงลายมือชื่อด้วย อย่างไรก็ดี พินัยกรรมประเภทนี้จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ ในขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์พิเศษเท่านั้น เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด หรือสงคราม เป็นต้น
โดยที่ในการจัดทำพินัยกรรมตามแบบพินัยกรรมที่มีในเว็บไซต์นี้เป็นทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
ข้อควรระวังในการเขียนพินัยกรรม
คุณสมบัติและความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม
ในขณะเวลาที่ทำพินัยกรรมถือเป็นสาระสำคัญของพินัยกรรม ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องระบุวันที่ที่ทำพินัยกรรมนั้นก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าในขณะทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ มีสติสัมปชัญญะ และมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรมนั้นดีแล้ว เช่น
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปีบริบูรณ์ ในขณะที่ทำพินัยกรรม
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตในขณะที่ทำพินัยกรรม
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถในขณะที่ทำพินัยกรรม
ต.ย การเขียนพินัยกรรม
เรื่องเล่าเหตุการณ์จริงจากการไม่เขียนพินัยกรรม
มรดก 200 ล้านใครได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเพื่อนเก่งเอง… เพื่อนเก่งมีลูกกับ Mr HK ครอบครัวของ MR. HK นามสมมุติ ทั้งคู่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่มีการรับรองบุตร Hk เป็น นักธุรกิจชาวฮ่องกงมีคุณตากับคุณยายซึ่งร่ำรวยมากมีคอนโดอยู่ที่ฮ่องกงมูลค่า 200 ล้านบาท ครอบครัวนักธุรกิจมี รายได้ น่าจะเดือนละหลายล้านก่อน covid..
เมื่อต้นปี 2022 ผ่านมาคุณตาเสียด้วยโรคมะเร็งเป็น 6 เดือนแล้วเสียเลย ไม่มีประกันใดๆ เนื่องจากเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีมาก จึงอาจมองว่าการทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ส่วนคุณยายซึ่งเป็นภรรยาของคุณตาก็ป่วยเป็นมะเร็งเช่นกันต้องมีค่ารักษาเดือนละประมาณ 200,000 บาท ตอนที่คุณตาหาเงินได้นั้นเงินก้อนนี้เป็นเศษเงินของบ้านนี้เลยทีเดียว
เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันคุณตาเสียผู้นำของครอบครัวที่มีรายได้หลักทุกอย่างพังทลายลงความรับผิดชอบตกมาอยู่ที่ลูกชายคนโต คือ HK
HK ได้ขายคอนโดมูลค่า 200 ล้านบาท HK ซึ่งลูกชายคนโตคือสามีของเพื่อนเก่ง… Hk ส่งลูกสาวไปเรียนต่างประเทศ แล้วได้โอนเงินจำนวนหลายล้านบาทไว้ให้..
แต่เมื่อโควิดมาถึง Mr.HK นามสมมุติซึ่งเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วได้เป็นโควิด เนื่องจากมีพ่อและแม่ที่เป็นมะเร็งทั้งคู่ทั้งครอบครัวได้เสีย cashflowไปมากมาย ดังนั้นมิสเตอร์ HK จึงเข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐบาล …
ชีวิตผกผัน HK บอกว่าฉันยังไม่ตายฉันยังไม่โอนเงินค่าเรียนเพิ่มมาให้ลูกกับภรรยา….
และแล้วใน 2 วันที่ผ่านไป มิสเตอร์เอสเคก็สิ้นใจที่โรงพยาบาล ครอบครัวที่เมืองไทยไม่มีใครรู้ข่าว หลายเดือนผ่านไป…
HK เป็นลูกคนโตส่วนน้องชายคนกลางได้รับมรดก 200 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนน้องชายคนเล็กป่วยหนัก HK บอกภรรยาที่เมืองไทยว่าเดี๋ยวน้องชายฉันจะติดต่อกลับมาแต่ก็ไม่มีวี่แวว… ( ในโลกนี้จะมีกี่คนที่ซื่อสัตย์กับเงิน 200 ล้าน)
เราได้อะไรจากบทเรียนนี้ หากเราเก็บความตายไว้ใกล้ตัวและเรียนรู้เสมอว่ามันเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
- เราจะทำพินัยกรรมเป็นเรื่องเป็นราว มองอนาคตเป็นหลัก
- เรื่องเงินเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนและต้องจัดการ
- cash flow ก่อน คุณตาเสียน่าจะซื้อประกันชีวิตได้ 30-50 ล้านบาทแบบสบายๆ
- ทุกคนควรมีประกันสุขภาพอย่างต่ำควรมีประกันมะเร็ง โรคร้ายแรง
- 1 อาทิตย์ก่อน HK เสีย เขาบอกว่าเขาเป็นห่วงแม่คุณยาย
- 200 ล้านบาท หายวับไปกับตาลูกสาวที่กำลังเรียนอยู่ต่างประเทศตอนนี้ ต้องช่วยเหลือตัวเองและเงินก้อนสุดท้ายที่ HK โอนไว้ก่อนโควิท
- หากมองว่าความตายเป็นสิ่งใกล้ตัวเราจะวางแผนได้ดีขึ้นหากมองความตายเป็นสิ่งที่ไกลตัวเราจะไม่ได้วางแผน
- ขออนุญาตนำข้อมูลของ Mr. HK มาเป็นอุทาหรณ์ให้ครอบครัวอื่นๆไม่ว่าท่านจะมีรายได้เท่าไหร่
การวางแผน แบบตีต่ำที่สุดคือสิ่งที่จำเป็นมาก
ด้วยความเคารพขอให้ไปสู่ภพภูมิที่ดีนะคะ
ทุกคนคิดว่าเราจะไม่ตาย คงอีกนานคงไม่ถึงตาเรา แต่แท้จริงแล้วความตายเป็นสิ่งที่แสนใกล้ตัวมาก หากเรามีลูกหลานที่เป็นห่วง ควรทำพินัยกรรมให้ชัดเจน เพราะเราไม่รู้เลยว่าเราจะจากโลกนี้ไปเมื่อไหร่
อีกเรื่อง : เรื่องเล่าจากพินัยกรรม
นี่คือเหตุการณ์จริง ที่เกิดขึ้นมานานพอสมควร ลูกค้าต่างชาติท่านหนึ่งเชื้อสายเอเชีย ทรัพย์สินมีมากกว่า 1,000 ล้านบาท เขียนพินัยกรรมให้ลูกทั้งหมด 5 คน 3 คนเป็นผู้หญิงส่วนอีก 2 คนเป็นผู้ชาย ให้พินัยกรรมคิดเอาไว้ว่า ใครจัดงานศพพ่อคนนั้นได้มรดก หลังจากที่พ่อเสียชีวิตลูกชายทั้งสองคนก็แย่งร่างของพ่อเพื่อจัด งานศพ
คนนึงมีบอดี้การ์ด ให้เฝ้าศพพ่อไว้ที่โรงพยาบาล ส่วนอีกคนนึงจ้างบริษัทขนย้ายศพเพื่อกลับประเทศ แย่งกันไปแย่งกันมาเมื่อสอบถึงประเทศปลายทาง ก็มีรถหลอกว่าศพกำลังแล่นไปทางนี้
ในฐานะคนเป็นพ่อคุณคงกลัวว่าจะไม่มีใครดูดำดูดีเมื่อท่านเสียไป แต่ถ้าหากผู้วายชนตน์มองลงมาสิ่งที่เกิดขึ้น หากย้อนเวลากลับไปได้เราจะเขียนพินัยกรรมเช่นนี้หรือไม่
ไม่มีสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดในการเขียนแผนพินัยกรรมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เขียน
การเล่าเรื่องขอเป็นอุทาหรณ์สำหรับครอบครัวที่ต้องเขียนพินัยกรรมแบ่งมรดก หรือหากท่านเป็นอยู่ตัวคนเดียวและไม่มีญาติใดๆมรดกก็จะตกไปสู่ญาติลำดับที่ 2 ลำดับที่ 3 หากไม่มีก็จะตกเป็นของแผ่นดินนั่นเอง
- หากท่านต้องการความช่วยเหลือจากทนาย สามารถปรึกษาทีมงาน Farewellmyloves ได้เลยเรามีทนายอำนวยความสะดวกให้ในราคาเริ่มต้นที่ 4000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักบริหารการทะเบียน
081-806-8098
@farewellmyloves